//=$generalSetting[5]['setting_value']?>
สายไฟเบอร์ออฟติกมีวิธีการป้องกันจากการโดนฟ้าผ่าอย่างไร
ฟ้าผ่าส่งผลกระทบเป็นอย่างมากกับเสาส่งสัญญาณหรือสายส่งสัญญาณต่าง ๆ เพราะจะส่งผลกระทบต่อช่องสัญญาณไฟเบอร์ DWDM และหากมีกระแสไฟฟ้าที่ผ่านั้นสูงก็อาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้อีกด้วย เนื่องจากสายไฟเบอร์ออฟติกส่วนใหญ่ที่ใช้จะมีแกนที่ห่อหุ้มออปติคัลได้ แต่ก็ยังได้รับความเสียหายอยู่ดี ดังนั้นควรสร้างระบบการป้องกันสายไฟเบอร์ออฟติกจากการโดนฟ้าผ่า
วิธีป้องกัน
วิธีการป้องกันมีหลัก ๆ อยู่ 2 วิธีด้วยกันคือ การต่อสายดินระดับกลาง (intermediate grounding) และการต่อสายดินขั้วของอาคาร (terminal grounding) ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ใช้สำหรับการเชื่อมโยงสายเคเบิลแบบออปติคัลทั้งในมาตรฐานในประเทศและต่างประเทศ มีทั้งการเชื่อมต่อไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบที่ต่อกราวด์ในห้องเครื่องและฉนวนชิ้นส่วนโลหะของสายเคเบิลออปติคัลแต่ละอันที่ข้อต่อและทำให้สายเคเบิลเข้าสู่ห้องอุปกรณ์
การต่อสายดินระดับกลาง (Intermediate Grounding)
การต่อสายรูปแบบนี้ได้รับการออกแบบมาเป็นหลักสำหรับสาย burial fiber และสาย aerial fiber โดยสามารถวางสายโดยตรงด้วยสายป้องกันฟ้าผ่าตามสภาพต้านทานของดินและต่อสาย aerial fiber กับเสากราวด์เพื่อแขวน
การต่อสาย Burial Fiber Cables
สายไฟเบอร์ออฟติกจะเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ดี ถ้าฟ้าผ่าถึงพื้นก็จะเป็นไอออนเพื่อสร้างให้เป็นตัวนำ ยิ่งตรงที่พื้นเปียกจะเป็นที่ที่มีกระแสไฟฟ้ามาก ยิ่งจะทำให้ฟ้าผ่าตรงนั้น ซึ่งในแต่ละที่ก็จะต้องมีการป้องกันที่ต่างกัน โดยมีตารางวัดความต้านทานของการป้องกันดังนี้
Soil Resistivity (Ω·m) | Direct Burial Fiber Cables | Field Silicon Core Plastic Pipe | Note |
---|---|---|---|
No need of lightning protection wires | No need of lightning protection wires | / | |
100~500 | Set 1 lightning protection wire | Set 1 lightning protection wire | Continuous laying length should not be less than 2 km |
>500 | Set 2 lightning protection wires | Set 1 lightning protection wire | Continuous laying length should not be less than 2 km |
การต่อสาย Aerial
Fiber Cable
ในต่างจังหวัดถิ่นทุรกันดานหรือบนยอดเขานั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟ้าผ่ามากกว่าในเมือง ซึ่งสาย Aerial Fiber นั้นเหมาะสำหรับการใช้ในสถานที่แบบนี้ สาย Aerial Fiber แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือการต่อสายดินแบบขั้วและการต่อสายดินแบบแขวน
ในการต่อสายดินลงที่เสาจะต้องมีสายป้องกันฟ้าผ่าทุก
ๆ 250 เมตร หากความยาวของเสาเกิน 12 เมตรหรือความลึกเสามากกว่า 1 เมตร
จะต้องมีลวดป้องกันฟ้าผ่า ควรติดตั้งสายป้องกันฟ้าผ่าโดยมีระยะห่างคงที่ 50 มม.
เมื่อตั้งเสาไว้ที่ทางแยกของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
ส่วนต่อขยายใต้ดินของสายป้องกันฟ้าผ่าควรฝังไว้ต่ำกว่า 700 มม. บนพื้น ซึ่งจะมีตารางความยาวของส่วนขยายและความต้านทานของสายไฟให้ดูดังนี้
Soil Texture | Lightning Protection Wire Requirements for General Poles | Wire Requirements for Poles Set at the Junction of High Voltage Power Transmission Lines | ||
---|---|---|---|---|
resistance (Ω) | extension (m) | resistance (Ω) | extension (m) | |
Boggy Soil | 80 | 1.0 | 25 | 2 |
Black Soil | 80 | 1.0 | 25 | 3 |
Clay | 100 | 1.5 | 25 | 4 |
Gravel Soil | 150 | 2 | 25 | 5 |
Sandy Soil | 200 | 5 | 25 | 9 |
ในการต่อลงกราวด์ของลวดแขวน ลวดแขวนจะต่อสายดินผ่านสายป้องกันฟ้าผ่าในดินเสาทุกๆ 300-500 เมตร และฉนวนไฟฟ้าจะถูกเพิ่มทุกๆ 1 กม. หรือมากกว่านั้นสำหรับการตัดการเชื่อมต่อทางไฟฟ้า มีค่าขนาดและสายตามตารางด้านล่าง
Soil Texture | Common Soil | Gravel Soil | Clay | Chisley Soil |
---|---|---|---|---|
Electrical Resistivity (Ω.m) | ≤100 | 101~300 | 301~500 | >500 |
Resistance of the Suspension Wires | ≤20 | ≤30 | ≤35 | ≤45 |
Resistance of the Lightning Protection Wires | ≤80 | ≤100 | ≤150 | ≤200 |
การต่อสายดินขั้วของอาคาร (terminal grounding)
การต่อแบบนี้เป็นอุปกรณ์ปลายทางของสายเคเบิลออปติคัลควรต่อสายดินทั้งหมด ซึ่งจะมีการต่อที่คล้ายกันกับการต่อสายดินทั่ว ๆ ไป ภาพตัวอย่างการต่อสายดินขั้วของอาคาร (terminal grounding) โดยใช้ ODF
การต่อสายออปติคัลส่วนประกอบของสายควรเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าแรงสูงด้วยสายกราวด์ทองแดงซึ่งมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 6 ตารางมิลลิเมตรจากนั้นก็ใช้สายเคเบิลทองแดงแบบหลายเกลียวที่มีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 35 ตารางมิลลิเมตร เพื่อต่ออุปกรณ์กราวด์และขยายไปยังระบบกราวด์ที่มีอยู่ในห้องเครื่อง ซึ่งพื้นที่ของสายทองแดงต้องมีหน้าตัดไม่น้อยกว่า 16 ตารางมิลลิเมตร เพื่อขยายระบบ
ขอขอบคุณ
ที่มา : https://community.fs.com/blog/how-to-build-lightning-protection-system-for-fiber-optic-cables.html
แปลภาษาและแก้ไขโดย : PBA Supply
Follow US